วันศุกร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2555

คุณค่าและความสำคัญของสุขภาพกายและสุขภาพจิต

ใครหลายคนคงเคยได้ยินพุทธสุภาษิตที่กล่าวว่าอโรคยาปรมาลาภา ซึ่งหมายถึงความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ คำกล่าวนี้เป็นความจริงที่ใครๆก็ไม่สามารถปฏิเสธได้

สุขภาพทางกายและสุขภาพทางจิตมีความสัมพันธ์ต่อกันโดยจะเชื่อมโยงไปสู่สุขภาพทางจิตวิญญาณ
สุขภาพเป็นองค์รวมของร่างกายจิตใจและจิตวิญญาณการที่คนเรามีสุขภาพที่ดีสมบูรณ์ไม่ใช่มีเพียงองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งเท่านั้น
แต่จะมองในลักษณะขององค์รวมสุขภาพทั้ง 3 ประการจะส่งผลทำให้มีสุขภาพดีดังนี้
1. ถ้ากายนำจิต จะทำให้กายดี จิตก็จะดีด้วย เช่น ถ้าเราหิวแล้วเรากินข้าวเมื่ออิ่มแล้วอารมณ์ก็จะดีสามารถคิดและมีแรงทำงานได้
2. ถ้าจิตนำกาย จะทำให้จิตดีและนำกายไปดี เช่น ถ้าเรามีอารมณ์ที่ดี ไม่หงุดหงิดโมโหง่าย สภาพร่างกายเราก็จะไม่รู้สึกเจ็บป่วย
3. ถ้าจิตวิญญาณนำกายและจิต จะทำให้กายและจิตดี พร้อมที่จะเผชิญปัญหาและแก้ไขอุปสรรคต่างๆได้โดยสติเพื่อให้เกิดปัญญาในตนเอง
องค์ประกอบทั้ง 3 มีความสัมพันธ์กันโดยมีคุณค่าและความสำคัญดังนี้
1. เป็นองค์รวมที่สร้างความสัมพันธ์ด้านสุขภาพ
1.1 ช่วยสร้างและเพิ่มพลัง การที่เรารู้จักออกกำลังกายและสร้างเสริมสมรรถภาพทางร่ากายเป็นประจำจะส่งผลต่อสุขภาพทำให้ร่างกายแข็งแรง ระบบการทำงานของอวัยวะต่างๆภายในทำงานร่างกายทำงานได้ดีขึ้น
1.2 ช่วยรักษาอารมณ์ การออกกำลังกายที่ดีและถูกต้องจะช่วยทำให้อารมณ์ดีขึ้น ช่วยลดภาวะความเครียด ความวิตกกังวล ความซึมเศร้า โดยการช่วยระบายอารมณ์ต่างๆให้บรรเทาหรือทุเลาลงได้ ช่วยให้มีอารมณ์เบิกบานแจ่มใสช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดจากสภาวะแวดล้อมต่างๆ
1.3 ช่วยสร้างความสัมพันธ์ระหว่างตนเองกับผู้อื่น สร้างสังคมที่ดีระหว่างตนเอง ครอบครัว เพื่อน และบุคคลอื่นๆ สร้างมิตรภาพที่ดีต่อกันมีโอกาสพบปะและรู้จักผู้อื่น
1.4 ช่วยสร้าคุณภาพชีวิตที่ดี เนื่องจากการออกกำลังกายเป็นการสร้างเสริมสมรรถภาพทางกายจะทำให้รู้สึกกระปรี้กระเปร่า ตื่นตัว แคล่วคล่องว่องไว สามาถทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเองได้ การที่ร่างกายหลั่งสารเอ็โดฟินจะทำให้เรารู้สึกสดชื่น มีความสุขมีอารมณ์ร่าเริงแจ่มใสตลอดจนมีทักษะที่ดีต่อตนเองเป็นพื้นฐานของการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีอันเป็นผลต่อการสร้างระบบภูมิคุ้มกันและความต้านทานโรคของร่างกาย
2. เป็นอาหารหล่อเลี้ยงสุขภาพ
2.1 อาหารทางกาย สิ่งที่จำเป็นตามความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์ในการดำรงชีวิตเพื่อความอยู่รอด เช่น ปัจจัย 4 ด้านอาหาร ที่อยู่ เครื่องนุ่งห่มและยารักษาโรค และการสร้างเสริมสุขภาพ เช่น การพักผ่อน การออกกำลังกาย กิจกรรมนันทนาการ การป้องกันอุบัติเหตุ ฯลฯ
2.2 อาหารทางจิต สิ่งที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตทางด้านจิตใจ การมีความสุข รื่นเริง การไม่เจ็บป่วย ความสงบสุข การฝึกปฏิบัติธรรมตามคำสั่งสอนทางศาสนา
2.3 อาหารทางจิตวิญญาณ สิ่งที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตด้านศีลธรรม คุณธรรม จิตวิญญาณเป็นสิ่งที่มีคุณค่าสูงสุด เช่น การเสียสละ การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ โอบอ้อมอารี การมีสติ การมีความเมตตากรุณาซึ่งเป็นการเกิดความสุขอย่างแท้จริง
องค์ประกอบทั้ง 3 ส่วน มีความสำคัญและมีคุณค่าต่อสุขภาพทางกายและทางจิตของคนเรา ดังคำกล่าวที่ว่า จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว คือ สภาพจิตใจย่อมอยู่เหนือสภาพร่างกาย ถ้าเรามีสภาพจิตใจที่ดี มั่นคง ย่อมทำให้สุขภาพทางกายแข็งแรงไปด้วยดี

สิทธิผู้บริโภค

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่ให้ความสำคัญของการคุ้มครองผู้บริโภค โดยบัญญัติถึงสิทธิ
ของผู้บริโภคไว้ในมาตรา 57 ว่า"สิทธิของบุคคลซึ่งเป็นผู้บริโภคย่อมได้รับความคุ้มครองทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ"
                  พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 ได้บัญญัติสิทธิของผู้ บริโภคที่จะได้รับความคุ้มครอง
ตามกฎหมาย 5 ประการ ดังนี้
                  1. สิทธิที่จะได้รับข่าวสารรวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ ได้แก่ สิทธิที่ จะได้รับการโฆษณาหรือการ
แสดงฉลากตามความเป็นจริงและปราศจากพิษภัยแก่ผู้บริโภค รวมตลอดถึงสิทธิที่จะได้รับทราบ ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการอย่างถูกต้องและเพียงพอที่จะ
ไม่หลงผิด ในการซื้อสินค้าหรือรับบริการโดยไม่เป็นธรรม 

                  2. สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าหรือบริการ ได้แก่ สิทธิที่จะเลือกซื้อสินค้าหรือรับบริการโดยความ สมัครใจของผู้บริโภค และปราศจากการ
ชักจูงใจอันไม่เป็นธรรม 

                  3. สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับสินค้าหรือบริการที่ปลอดภัย มีสภาพและคุณภาพได้มาตรฐาน
เหมาะสมแก่การใช้ ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกายหรือทรัพย์สิน ในกรณีใช้ตามคำแนะนำหรือระมัดระวังตามสภาพของสินค้าหรือบริการนั้นแล้ว 

                  4. สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับข้อสัญญาโดยไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ประกอบธุรกิจ 

                  5. สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองและชดใช้ค่าเสียหาย เมื่อมีการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค
ตามข้อ 1, 2, 3 และ 4 ดังกล่าว

วันพฤหัสบดีที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

บทที่4


การดาน์โหลดทำได้อย่างไร


ขั้นที่1
หาสิ่งที่ต้องการดาวน์โหลด
แล้วกดดาวน์โหลด
ต่อจากนั้นก็กดบันทึก
ขั้นที่2
   บันทึกในคอมพิวเตอร์ตามต้องการ
   แล้วกดSave

รอจนเสร็จ

บทที่2

โปรแกรม Downlload Accelerator Plus (DAP)ใช้สำหรับดาวน์โหลดโดยใช้โปรแกรม Downlload Accelerator Plus   เพื่อเพิ่มความสามารถการดาวน์โหลดลงบนเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณขึ้นได้ถึง300%เลยทีเดียวโปรแกรมนี้มีระบบResume fileที่ทำงานอย่างมีประสิทธิ์ภาพ
คุณสมบัติ
1)  ผู้ผลิต : Speed Bit
2)  ขนาดไฟล์  :  11.3 MB.
3)  ลิขสิทธิ์  :  Shareware
4)  ระบบ OS  :  Windows 2000/7 / ME /NT/XP
5)  เวอร์ชั่นรุ่น  : 9.5 plus

วันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2554

บทที่3

1.ขั้นตอนการลงโปรแกรม
  
ขั้นที่1
    กด Run


ขั้นที่2

      ดับเบิ้ลคลิกตัวโปรแกรม
ขั้นที่3
   กดปุ่ม Next
ขั้นที่4
    กดปุ่ม l Accept
ขั้นที่5
   กดปุ่ม Next
ขั้นตอนที่6
    กดปุ่ม Next

ขั้นตอนที่7
    กดปุ่ม Next

ขั้นตอนที่8
    กดปุ่ม Next
ขั้นตอนที่9
    กดปุ่ม Next
รอจนเสร็จ
ขั้นตอนที่10
    กดปุ่ม Finish


ขั้นตอนที่11
 จะมีเว็บขึ้นมา
ขั้นตอนที่12
    กดOK

  เสร็จการติดตั้งโปรแกรม

วันพฤหัสบดีที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2554

คำนำ

ข้าพเจ้า ด.ญ.มานิตา บ่อสารคาม นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/3  เลขที่ 33 โรงเรียนถาวรานุกูล อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม สำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษาเขต 10
           กำลังศึกษาวิชาทฤษฎีความรู้  มีประเด็นความรู้ที่สนใจคือ โปรแกรม Accelerator (DAP) 95จึงตั้งประเด็นศึกษาว่าการดาวน์โหลดไฟล์โดย โปรแกรมAccelerator (DAP) 95ทำได้อย่างไร     การศึกษาหาความรู้โดยได้กระทำดังนี้               
               1.  จากอินเทอร์เน็ตเว็บไซต์    
               2.  จากหนังสือ
            ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการศึกษาครั้งนี้คือ ได้รู้หลักการใช้งานของโปรแกรมAccelerator (DAP) 95  จริงอย่างที่ได้ตั้งประเด็นศึกษาไว้
                                                                                     ด.ญ. มานิตา บ่อสารคาม
                                                                                นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/3